วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ
            สิ่งแวดล้อม คือ สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น      
             สิ่งแวดล้อมแต่ละบริเวณจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ ทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) อาศัยอยู่ในบริเวณแตกต่างกันไปด้วย ดังตัวอย่างในสระน้ำแห่งหนึ่ง
            ในแหล่งน้ำนี้จะมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้แก่สัตว์น้ำ ทั้งตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และพืชน้ำนานาชนิด รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันไปตามบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม กล่าวคือ พืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีคลอโรฟีลล์ เป็นพวกที่สร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเป็นผู้ผลิตแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่สัตว์ ซึ่งจะกินต่อกันเป็นทอดๆ จากสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารต่อไป เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตายลง ก็จะถูกจุลินทรีย์กลุ่มสิ่งมีชีวิตย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่แหล่งน้ำ
           ในแหล่งน้ำจะมีสารและแร่ธาตุต่างๆละลายปนอยู่ในน้ำ ซึ่งมีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามฤดูกาล เนื่องจากในหน้าแล้งน้ำก็จะระเหยออกไป ส่วนในฤดูฝนก็จะมีน้ำและสารต่างๆถูกชะล้างจากบริเวณใกล้เคียงไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงทำให้ปริมาณน้ำและสารต่างๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
            สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำก็ได้ใช้สารและแร่ธาตุต่างๆในการดำรงชีวิต ได้แก่ การหายใจ การเจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ จากกระบวนการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งกระบวนการย่อยสลายของอินทรียสารของพวกจุลินทรีย์ จะมีการปล่อยสารบางอย่างออกสู่แหล่งน้ำ และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำก็จะใช้สารเหล่านั้นในกระบวนการต่างๆอีก สารและแร่ธาตุต่างๆจึงหมุนเวียนเข้าสู่สิ่งมีชีวิต และปล่อยออกสู่แหล่งน้ำตลอดเวลาวนเวียนเป็นวัฏจักร
             ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแหล่งน้ำนี้ เช่น มีปริมาณธาตุไนโตรเจนมากเกินไปก็จะมีผลทำให้พืชน้ำหลายชนิดเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและรวดเร็ว ในระยะแรกๆ สัตว์น้ำที่กินพืชเป็นอาหารจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น จนในที่สุดพืชที่เป็นแหล่งอาหารจะลดปริมาณลง ทำให้สัตว์กินพืชลดจำนวนลง และมีผลทำให้สัตว์กินสัตว์ลดจำนวนตามไปด้วย เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ
        ในขณะที่สัตว์และพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะเกิดความแออัด จะมีของเสียถ่ายสู่แหล่งน้ำมากขึ้น ทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการดำรงชีพของสัตว์และพืชบางชนิด แต่ไม่เหมาะสมสำหรับสัตว์และพืชอีกหลายชนิด ในแหล่งน้ำจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันภายในอย่างซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยต่างๆในแหล่งน้ำมีการควบคุมตามธรรมชาติที่ทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตอยู่ในภาวะสมดุลได้
ความสัมพันธ์ในสระน้ำนั้นเป็นตัวอย่างของหน่วยหนึ่งในธรรมชาติ เรียกว่า ระบบนิเวศ(ecosystem) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม
           ระบบนิเวศมีทั้งระบบใหญ่ เช่น โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (biosphere) ซึ่งรวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ และระบบนิเวศเล็กๆ เช่น ทุ่งหญ้า สระน้ำ ขอนไม้ผุ ระบบนิเวศ จำแนกได้เป็น ระบบนิเวศตามธรรมชาติ ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ บึง ทุ่งหญ้า ทะเลทราย ระบบนิเวศน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล หนอง บึง มหาสมุทร ระบบนิเวศอีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบนิเวศ ชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น

ขอขอบคุณ  www.thaigoodview.com  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

สิ่งแวดล้อมและปัญหาการค้าระหว่างประเทศ

สิ่งแวดล้อมและปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
โดย ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์

            ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ประชาชนเริ่มมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก
ในโลกอุตสาหกรรมตะวันตก แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลภาวะทางอุตสาหกรรมในระดับชาติและระดับภูมิภาค
ในช่วงนั้นมีการอภิปรายกันบ้างทางด้านนโยบายการค้า และการลงทุนต่างประเทศ แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญมากนักแก่เรื่อง
สิ่งแวดล้อมเพราะทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและฝ่ายแรงงานในประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยต่างมีความเห็นตรงกันว่าการวาง
มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดจะเป็นการทำลายความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก
         ในช่วง 1973 - 1982 ได้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง เศรษฐกิจตกต่ำอย่างมากในโลกอุตสาหกรรมตะวันตก
ประชาชนหันมาให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ที่ใหญ่โต
ในคราวนั้น ได้มีปัญหาใหม่ๆ ที่รุนแรงเกิดขึ้น เช่น ช่องโหว่ในโอโซน และปัญหาโลกร้อน
           ในขณะเดียวกันนักสิ่งแวดล้อมนิยมก็หันมาตรวจสอบปัญหามลภาวะทางอุตสาหกรรมมากขึ้น ในระดับนานาชาติ
ได้มีการแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องการทำลายป่าฝนเขตร้อน การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และการเคลื่อนไหวเพื่อ
พิทักษ์สิทธิธรรมชาติ
          อาจกล่าวได้ว่า ช่วงนั้นเป็นการเริ่มต้นของการมองปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก (global environment) ทั้งนี้เป็นเพราะว่า
ปัญหาเช่นมลภาวะ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะที่เสียแล้ว หากแต่เป็นปัญหาแบบข้ามพรมแดน(มลพิษข้ามพรมแดนหรือจิตวิทยา
ข้ามพรมแดน เช่น คนที่อยู่ในโลกตะวันตก อาจมีความห่วงใยเกี่ยวกับการทำลายป่าฝนในเอเชีย)
           นอกจากนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกตะวันออก ก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหามลภาวะที่รุนแรง
ขึ้นเช่น ในประเทศที่กำลังพัฒนา และในกลุ่มประเทศสังคมนิยม ปรากฏการณ์ที่สำคัญคือ กระบวน
การโลกาภิวัฒน์ ที่กำลังเริ่มขึ้นได้ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ทางสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว ที่ไหนมีการ
ลงทุน ที่นั่นก็มีการกระจายของมลภาวะด้วย เราอาจเรียกได้ว่ามี "โลกาภิวัฒน์ของมลภาวะ"
ซึ่งแผ่กระจายไปตามทิศทางของทุนนิยมโลก
           ในปัจจุบันความห่วงใยได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยครอบคลุมพื้นที่เกี่ยวกับสุขภาพ
และความปลอดภัยของประชาชนผู้บริโภคและผู้ทำงานในโรงงาน ล่าสุด คือการต่อต้านการผลิตและ การค้าอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรทางด้าน GMO ประเทศที่กำลังพัฒนาได้รวมตัวคัดค้านกัน
หนาแน่น จนสามารถบรรลุ "สิทธิที่จะปฏิเสธการค้า GMO" ด้วยความหวั่นวิตกว่า GMO
มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศท้องถิ่นและสุขภาพประชาชน 
           เนื่องด้วยในขณะนี้ประชากรโลกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วไปถึงหลัก 6 พันล้านคนแล้ว ความต้องการสินค้าและบริการก็เพิ่มขึ้นตามไปอย่างมหาศาลเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการทางด้านสินค้าอาหาร สินค้าเกษตร วัตถุดิบ พลังงาน การบริการทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ (เช่น ดิน อากาศ น้ำ ฯลฯ) รวมไปถึงระบบการกำจัดมลภาวะท่ามกลางการขยายตัวของความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ การค้าของโลกก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน
           ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าการส่งออกและการนำเข้าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนปัจจุบัน
เราต้องพูดถึง the greening of world trade ซึ่งมี 3 มิติ ด้วยกัน :
ประการแรก การค้าและนโยบายการค้าย่อมต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ตั้งการผลิต ปริมาณการผลิต รวมทั้งการบริโภคย่อมมีปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมาไม่มากก็น้อย อาจกล่าวได้ว่า การค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นและนโยบายการค้าเสรีจะทำให้โลกเรามีปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้น แต่บางฝ่ายก็บอกว่ารายได้จากการค้าที่เพิ่มขึ้น เราสามารถนำเอาไปแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
ประการที่สอง นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ได้ โดยผ่ากระบวนการทางการค้า เช่นการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หรือการวางมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด อาจมีผลต่อปัญหาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นักสิ่งแวดล้อมนิยมมักจะมองว่า นโยบายการค้าเป็นส่วนสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อม การค้าจะต้องมีมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม
แต่นักอุตสาหกรรมอาจมองว่า การกำหนดมาตรฐานเป็นวิธีการกีดกันทางการค้าชนิดหนึ่ง
ประการที่สาม นโยบายการค้าอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ประเทศต่างๆ ดำเนินมาตรการร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหามลภาวะที่ข้ามพรมแดน (transborder environmental pollution) แนวคิดนี้ไม่ได้เน้นเรื่องการมองผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว หากแต่มองเรื่องการร่วมมือกันในระดับโลก นั่นคือ มองหาหนทางเพื่อนำเอามาตรการทางการค้ามาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
         อย่างไรก็ตามปัญหาสิ่งแวดล้อมกับการค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ และค่านิยมของคนหลายกลุ่ม
ฝ่ายที่ต้องการให้มีการกีดกันทางการค้าเพื่อรักษาอำนาจอภิสิทธิ์ของพวกเขา มีแนวโน้มที่จะเป็นพันธมิตรกับกลุ่มสิ่งแวดล้อมนิยม
เพื่อหาหนทางปิดกั้นโอกาสที่จะทำการค้าอย่างเสรีเกี่ยวกับเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักยังคงมีปัญหา
ที่ถกเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง :
- การค้าเสรีทำลายสิ่งแวดล้อมโลก จริงหรือเปล่า?
- ควรจะลดเสรีทางการค้า หรือควรจะหามาตรการแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อมดีกว่า?
- โลกาภิวัฒน์ของทุนนิยมโลกที่กำลังขยายตัว เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามากน้อยแต่ไหน?
         ในการประท้วงที่เมืองซีแอตเติลสหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ต่อต้านการค้าโลกมากมายหลายกลุ่มได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าพวกเขา
ไม่ต้องการ "การค้าเสรี" ที่สำคัญกว่าคือ "การค้าที่ยุติธรรม" และการค้าโลกจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชีวิตของผู้คนท้องถิ่น
ในประเทศที่กำลังพัฒนา
          นักสิ่งแวดล้อมนิยมมีความเห็นว่าการค้าโลกจะต้องมีมาตรฐานทางด้านแรงงาน และมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่ละประเทศจะต้องมีการวางนโยบายที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ถ้าไม่มีสิ่งนี้แล้ว การค้าไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามย่อมทำลายความสุขสมบูรณ์ของประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างแน่นอน

 ขอขอบคุณ sawasdee.bu.ac.th ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อม
(ภาวะโลกร้อน)
            ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางมลพิษ ปัญหาทางน้ำ ปัญหาทางอากาศ แต่โดยรวมแล้วผู้คนจะให้ความสนใจในเรื่องของ ภาวะโลกร้อนกันมากกว่า เพราะ ปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง มาว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ เรื่องการดำรงชีวิตของผู้คน จึงทำให้ผู้คนหันมารณรงค์ลดภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น
            ปัญหาโลกร้อน มีสาเหตุหลักมาจาก ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง สภาพที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศผิวโลกมีปริมาณเกินภาวะสมดุล ทำให้เกิดปรากฏการณ์คล้ายกระจกหลังคาที่หุ้มเรือนกระจก และทำให้อุณหภูมิระหว่างผิวโลกกัฐก๊าซดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศของโลก
            สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
การพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีผลต่อการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก สู่บรรยากาศมากขึ้น ก๊าซเรือนกระจกที่ควรรู้จักคือ คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นก๊าซที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศตลอดเวลา จากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้การทำลายพื้นที่ป่าไม้ยังเป็น การเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากขาดต้นไม้ที่จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทีเกิด จากการ เผาไหม้ทำให้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหลืออยู่มากในบรรยากาศ
            ผลกระทบของปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 0.8 องศาเซลเซียสต่อระยะ 10 ปี ทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น พื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลง แต่ทะเลทรายเพิ่มขึ้น ฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ในเขตเมืองหนาว ฤดูหนาวจะสั้นลง ฝนตกมากขึ้น ฤดูร้อนจะยาวมากขึ้น อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง ส่วนเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน บริเวณที่แห้งแล้งจะแห้งแล้งมากขึ้น ดินเสื่อมคุณภาพมากขึ้น บริเวณที่ชุ่มชื้นจะมีฝนมากขึ้น พายุรุนแรงและเกิดอุทกภัยบ่อยขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรลดลงหรือต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะสภาพดินฟ้า อากาศ และพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ความเหมาะสมลดลง มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมากขึ้น เกิดความเสียหายทางการเกษตร อาหารจะขาดแคลน ทำให้มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม
วิธีแก้ปัญหา ภาวะโลกร้อน 1.ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี
2.ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
3.เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก
4.เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง
ขอขอบคุณ  http://www.oknation.net/  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
          การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว (Exponential) ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สนองความต้องการในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งบางครั้งเกินความจำเป็น จนทำให้ระบบนิเวศต่าง ๆ เสียสมดุล ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างเสื่อมโทรม ร่อยหรอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถเอื้อประโยชน์ได้เช่นเดิม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการ หรือมาตรการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมและมีเหตุผลเพียงพอ ทั้งนี้รวมไปถึงการควบคุมขนาดประชากรโลกให้มีความเหมาะสมกับทรัพยากรของโลก ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหัวข้อที่ 3.1.3นั้น ควรเน้นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ 1 และ2 โดยมีมาตรการที่ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดไปทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ 3 และ 4 ควรใช้กันอย่างประหยัดและเหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปควรใช้อย่างประหยัดที่สุด
แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development-S.D.)
          WCED World Commission on Environment and Development ได้ให้ความหมายของการพัฒนา แบบยั่งยืนไว้ว่า เป็นการพัฒนา ที่สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการขั้นพื้นฐาน ของคนในรุ่นปัจจุบัน เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ โดยไม่ทำให้ ความสามารถ ในการตอบสนอง ความต้องการดังกล่าว ของคนรุ่นต่อไปต้องเสียไป ("Development that meets the needs of the present without compromising the ability of Future generation to meet their own needs")
          ซึ่งเพื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า S.D เป็นเรื่องเกี่ยวข้อง กับความเท่าเทียมกัน ของคนในปัจจุบันรุ่นเดียวกัน และความเท่าเทียมกัน ของคนระหว่างรุ่นปัจจุบัน และรุ่นต่อไป เป็นความเท่าเทียมกัน ที่มุ่งให้เกิดความยุติธรรม ในการกระจายความมั่งคั่ง (รายได้) และการให้ทรัพยากร ตลอดจนการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมโดย S.D. จะเกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ของระบบ 3 ระบบ คือ ระบบนิเวศ/สิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคม มีเป้าหมายคือ การทำให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ระบบนี้ให้มากที่สุด เพื่อให้มีความเจริญเติบโต พร้อมกันจากคนในรุ่นปัจจุบัน และมีความยั่งยืน ไปจนถึงลูกหลานในอานาคต
แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อม
           มนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรโดยตรง ซึ่งย่อมจะต้องได้รับผลกระทบ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม ถ้าหากพิจารณา ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว จะเห็นได้ว่า ล้วนเป็นเหตุมาจาก การเพิ่มจำนวนประชากร และการเพิ่มปริมาณ การบริโภคทรัพยากร ของมนุษย์เอง โดยมุ่งยกระดับมาตรฐาน การดำรงชีวิต และมีการผลิตเครื่องอุปโภคมากขึ้น มีการนำใช้ ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ก่อให้เกิดสารพิษ อย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ไม่สามารถจะปรับตัวได้ทัน และทำให้ธรรมชาติ ไม่สามารถรักษาสมดุลไว้ได้ อันจะส่งผลต่อมนุษย์และโลกในที่สุด
           ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนี้ จะเห็นได้ว่า เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในความเป็นจริง ของสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ขาดความรู้ความเข้าใจ ในความเป็นจริงของชีวิต และองค์ประกอบอื่น ของความเป็นมนุษย์ โดยที่มนุษย์เอง ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ดังนั้น การนำความรู้ ความเข้าใจ มาปรับปรุง พัฒนาการดำรงชีวิต ของมนุษย์ให้กลมกลืน กับสิ่งแวดล้อม จึงน่าจะเป็น มาตราการที่ดีที่สุด ในการที่จะทำให้มนุษย์ สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างมั่นคง มีความสอดคล้อง และสามารถกลมกลืน กับสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
          
แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อมควรมีดังนี้
           1. การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้รู้จักธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์อย่างแท้จริง โดยให้มีการศึกษาถึง นิเวศวิทยา และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความรู้จริง ในการดำรงชีวิต ให้ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ ได้มุ่งสอน โดยยึดหลักศาสนา โดยสอนให้คนมีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ทำลายชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ในธรรมชาติด้วยกัน พิจารณาถึง ความเป็นไปตามธรรมชาติที่เป็นอยู่ ยอมรับความเป็นจริง ของธรรมชาติ และยอมรับความจริงนั้น โดยไม่ฝืนธรรมชาติ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลืองน้อยที่สุด ทำให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการ ของสังคมและประเทศชาติ ในการพัฒนา
           2. การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบ จากการทำกิจกรรม ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้สึก รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา การสร้างจิตสำนึก โดยการให้การศึกษา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล และยังมีผลต่อ พฤติกรรม ของบุคคล ให้มีการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกลมกลืน กับธรรมชาติ
           3. การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมนี้ จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมา จากการให้การศึกษา และการสร้างจิตสำนึก ทำให้มีการดำรงชีวิต โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

ขอขอบคุณ  www.rmuti.ac.th  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวพระราชดำริด้านป่าไม้

          เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง เล่าถึงแรงบันดาลใจ ในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำ ดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า
           ".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือ เรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่า อย่าง นั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหาย ดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือด ร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มี ตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ....."
           การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระ ทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึง ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่าง โดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่าง ประสานสัมพันธ์กัน
          แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามงาน ได้ดังนี้

                    
1. การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม
                    
2. การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า
                    
3. การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
1. การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม
          จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ ต้นน้ำลำธาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงปัญหา การเสื่อม โทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงตระหนักถึง ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งมีความสัมพันธ์ เอื้ออำนวย ประโยชน์ต่อกันและกัน หากทรัพยากรอย่างหนึ่งอย่างใดถูกรบกวน ก็จะส่งผลกระ ทบทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติเสียหายตามไปด้วย ดังนั้น จึงพระราชทานแนว พระราชดำริในการจัดการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้
           1.การรักษาป่าต้นน้ำ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานแห่งแนวพระราชดำริในการ อนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม คือ เมื่อมีป่าก็จะมีน้ำ มีดินอันอุดม มีความชุ่มชื้นของ อากาศ และเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของคน
           ถึงแม้การรักษาป่าต้นน้ำลำธารจะมีวัตถุประสงค์ปลายทางสำคัญอยู่ที่ การ เกื้อกูลการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า แต่ป่าต้นน้ำ คือที่ บริเวณซึ่งพึงรักษาให้อยู่อย่างปลอดภัยจากการรบกวน หรือเสี่ยงต่อความเสียหายใดๆ โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากคน
           2.การจัดการเรื่องน้ำและการสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์
           พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการเรื่องน้ำเป็น อย่างยิ่ง เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการรักษาและฟื้นฟูสภาพป่า รวมทั้งการปลูกป่า
           หลักในการสร้างแหล่งเก็บน้ำเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราช ดำริ ก็คือ การกักเก็บน้ำไว้บนที่สูงให้มากที่สุด แล้วจ่ายปันลดหลั่นลงมาโดยพยายาม เก็บน้ำไว้ในดินให้มากที่สุด ควบคุมและจัดการสภาวะการไหลของน้ำให้สม่ำเสมอ
           สรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรน้ำ ในงานอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและสิ่งแวด ล้อมนั้นก่อประโยชน์ต่อสภาพน้ำคือ ทำให้ปริมาณน้ำดีขึ้น คุณภาพน้ำดีขึ้น และการ ไหลของน้ำดีขึ้น
           3.การจ่ายปันน้ำ เมื่อมีแหล่งกักเก็บน้ำแล้วงานต่อเนื่องคือ การจ่ายปันน้ำ เพื่อแผ่ขยายความชุ่มชื้นแก่สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการ เพาะปลูก โดยการทำท่อส่งและลำเหมือง ซึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้น การใช้วัสดุในพื้นที่ที่หาง่ายและประหยัดเป็นหลัก
           การแผ่ขยายพื้นที่จ่ายปันน้ำโดยท่อส่งและลำเหมืองนี้ ยังช่วยทำหน้าที่ "เก็บน้ำไว้ในดิน" ให้ครอบคลุมบริเวณกว้างขวางออกไปด้วย
           4.การรักษาป่าชายเลน นอกจากมีพระราชดำริให้อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ป่าบกโดยทั่วไปแล้ว ยังทรงมีสายพระเนตรยาวไกลไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน ป่าชายเลนของประเทศอีกด้วย

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริที่เป็นแนว คิด และวิธีการซึ่งจำแนกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
          1.การฟื้นฟูตามหลักธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชี้ แนะแนวทางโดยถือหลักให้ธรรมชาติฟื้นตัวเอง
          2.การปลูกป่าทดแทน ทรงให้ความสำคัญกับพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ทรง เตือนให้ระวังการนำพันธุ์ไม้ต่างถิ่นเข้าไปปลูก โดยไม่ได้ศึกษาอย่างดีพอมาก่อน
          ลักษณะของป่าที่ปลูกทดแทน ในการปลูกป่าทดแทนทรงกล่าวถึง "ป่า 3 อย่าง" คือ ป่าที่ปลูกพันธุ์ไม้ตามประโยชน์ที่นำไปใช้ 3 ลักษณะ ได้แก่
          เทคนิคในการปลูกป่า ได้พระราชทานข้อคิดเกี่ยวกับวิธีการปลูกป่าที่มี ประสิทธิภาพหลายวาระ สรุปความได้ว่า
          (1) ต้องรักษาหน้าดินเอาไว้ โดยห้ามไถหน้าดินออกก่อนปลูกป่า และห้าม ใช้ยาฆ่าหญ้า
          (2) ปลูกต้นไม้ที่มีชั้นหรือขนาดความสูงต่างระดับกัน ทั้งไม้ยืนต้นที่มี ความสูง และไม้ชั้นล่างหรือไม้คลุมดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นไม่ให้ระเหยไปใน อากาศ
          (3) ปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วเพื่อเป็นไม้เบิกนำ ปลูกพันธุ์พืชไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบแทรกเข้าไปในป่า เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน
          (4) บริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง   อาจใช้พืชที่มีเมล็ดนำไปปลูกไว้บนยอดเขา   เพื่อให้ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ
          (5) เริ่มปลูกในบริเวณใกล้แหล่งเก็บน้ำและพื้นที่ชุ่มชื้นก่อน เช่น รอบ อ่างเก็บน้ำหรือฝายหรือตามแนวร่องน้ำ แล้วค่อยขยายพื้นที่ปลูกออกไป โดยพยายาม ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลมาจากยอดเขา สู่พื้นที่ตอนล่างให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดย การจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) และทำคูน้ำระบบก้างปลาเพื่อรักษาความชุ่ม ชื้นของดิน ทั้งยังเป็นแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break)


          หลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศ ถูกราษฎร บุกรุกและครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประมาณ 1 ล้านครอบครัว มีการเรียกร้องขอ กรรมสิทธิ์ ในการครอบครองพื้นที่ป่าไม้ที่ได้บุกรุกครอบครองไว้ เป็นปัญหาที่ทวีขึ้นทุก ขณะ
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดย พยายามเปลี่ยนราษฎรจาก สภาพผู้บุกรุกทำลายป่าให้กลายมาเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรป่า ด้วยทรงตระหนักถึงการพึ่งพาของคนและป่า ดังนั้น ในการที่คนจะอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทรงมีแนวพระราชดำริ ดังนี้


          1. จัดจำแนกความเหมาะสมการใช้ที่ดินตามลักษณะโครงสร้างของดิน การพัฒนาชุมชนต้องคำนึงถึงการจัดพื้นที่อย่างเหมาะสมแก่ราษฎร ซึ่ง ประกอบด้วย พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่ทำกินหรือพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่อนุรักษ์
          2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยใก้ราษฎรปลูกพืชเศรษฐกิจควบคู่ไป ก้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้
          3. ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า และจัดการ ทรัพยากรด้วยตนเอง นอกจากการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรเพื่อเพิ่มรายได้ แล้ว ยังมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า ได้ทรงเสนอแนะให้ ตั้ง "ป่าไม้หมู่บ้าน" ขึ้นมา เพื่อให้ราษฎรเพาะต้นกล้าให้แก่ราชการ เป็นการเอื้อประโยชน์ ต่อกัน


          4. ส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ราษฎรมีความรู้ พระราชกรณียกิจในการ เสด็จฯ เยี่ยมเยือนราษฎรแต่ละครั้งจะพระราชทานเครื่องเขียนแบบเรียน อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ แก่ครูผู้ทำงานในถิ่นทุรกันดาร บางพื้นที่ที่ทรงพบว่าไม่มีโรงเรียน เด็กๆ ไปเรียนลำบาก เพราะอยู่บนป่าเขาห่างไกลเกินไป ก็จะพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียน เมื่อชาวบ้านมีการศึกษา มีความรู้ ก็ย่อมเกิดความเข้าใจ เกิด สำนึกทางสังคม และสำนึกในทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นผลต่อเนื่องตามมา


          5. เสริมสร้างคุณธรรมและจิตสำนึก งานด้านอนุรักษ์ป่าไม้และต้น น้ำลำธารจะประสบผลดี มีความต่อเนื่อง และรักษาความสมบูร์ของธรรมชาติไว้ได้อย่างยั่ง ยืนเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจิตสำนึกของชาวบ้านเป็นสำคัญ เพราะแม้จะมีการ ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ มากมายเพียงไร ทุ่มงบประมาณสักเท่าใด มีวิทยาการมีระบบทันสมัย เพียงไร หากชาวบ้านในพื้นที่ไม่ร่วมใจ ไม่เห็นด้วย งานในพื้นที่นั้นก็ย่อมยากที่จะ ประสบความสำเร็จ
          แนวพระราชดำริที่เน้นการสร้างเสริมคุณธรรมและจิตสำนึก จึงเป็น ปัจจัยอันสำคัญที่ทำให้ต้นน้ำลำธารของเมืองไทยวันนี้ ยังมีอยู่และมั่นใจได้ว่าจะอยู่อีกนาน เท่านาน การสร้างจิตสำนึกแก่ราษฎรตามแนวพระราชดำรินั้น ไม่ใช่วิธีแค่การพูด การสอน เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดประโยชน์ ซึ่งชาวบ้านเห็นได้ สัมผัสได้ และรับ ประโยชน์ได้จริงจากความอุดมสมบูรณ์ของป่า ดิน และน้ำ นั้นจะเป็นเครื่องมือสร้างจิตสำ นึกตัวสำคัญ
          การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหน่วยงานอย่างเอาพระราชหฤทัยใส่ และทรงหนุนช่วยอย่างจริงจัง ทรงรับรู้ถึงสภาพการทำงาน สภาพความเป็นอยู่ ทุกข์สุข ของผู้ปฏิบัติงาน พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้ ย่อมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ชะโลมเลี้ยงปณิธานและอุดมการณ์แห่งการทำงานให้หนักแน่นมั่นคง
          เมื่อทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ราชการมีพลังใจ มีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วม กัน ผลก็คือ พลังสามัคคีในการประกอบกิจการงาน อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม


ขอขอบคุณที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                                            การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความหมายสิ่งแวดล้อม
                 รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·        
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
·
       
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม

                                              มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
             มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
 - ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
- หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
-ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย


ขอขอบคุณ 202.28.94.60/webcontest/2551/g36/main5.html  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก

คำขวัญ
2528 (1985)Youth, Population and Environment เยาวชน ประชากรและสิ่งแวดล้อม
 
2529 (1986)A Tree for Peace ต้นไม้เพื่อสันติภาพ
 
2530 (1987) Theme : Public Participation, Environment Protection and
Sustainable Development
-
2531 (1988)Slogan : When people put the environment first, development will last 
การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
2532 (1989)Global Warming ; Global Warming
ภาวะโลกร้อน
 
2533 (1990)Children and the Environment (Our Children, Their Earth)
เด็กและสิ่งแวดล้อม
 
2534 (1991)Climate Change : Need for Global Partnership
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
2535 (1992)Only One Earth : Care and Share
 
2536 (1993)Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle
 
2537 (1994)One Earth, One Family
โลกใบเดียวครอบครัวเดียวกัน
 
2538 (1995)We The Peoples, United for the Global Environment
ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก
 
2539 (1996)Our Earth, Our Habitat, Our Home
รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา
 
2540 (1997)For Life on Earth
เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก
 
2541 (1998)For Life on Earth "Save our Seas"
"เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน
 
2542 (1999)"Our Earth, Our Future … Just Save It"
รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม
 
2543 (2000)2000 The Environment Millennium : Time to Act
ปี 2000 สหัสวรรษแห่งสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา"
 
2544 (2001)CONNECT with the World Wide Web of Life
เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต
 
2545 (2002)Give Earth a Chance
ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต
 
2546 (2003)Water - Two Billion People are Dying for It!
รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤติจะมาเยือน
2547 (2004)Wanted ! Sea and Oceans - Dead or Live ?
ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย
2548 (2005)GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET
“เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก”
2549 (2006)DON'T DESERT DRYLANDS!
เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ
2550 (2007)MELTING ICE-A HOT TOPIC
ลดโลกร้อน  ด้วยชีวิตพอเพียง
2551 (2008)Co2 Kick the Habit ! Towards a Low Carbon Economy
ลดวิกฤติโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
2552 (2009)Your Planet Needs you! Unite to Combat Climate Change
คุณคือพลังช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน


ขอขอบคุณ  http://www.tungsong.com/  ที่เอื้อเฟื้อขัอมูล

วันสิ่งแวดล้อม



        ปัจจุบันปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่น การขาดแคลนอาหาร

วิกฤตการณ์พลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษและปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอีกหลายประการ เช่น
        1. การหลั่งไหลของประชากรจากชนบทสู่เมืองใหญ่
        2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง
        3. การสร้างอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยไม่คำนึงถึง

ผลสะท้อนที่ตามมา
        หากปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการป้องกันหรือแก้ไข ผลที่มาจะก่อให้แก่

ความเดือดร้อนแก่มนุษย์ชาติอย่างมหันต์
        วันที่ 5 -16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดนได้จัดการประชุมที่
เรียกว่า " การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์"
(UN Conference on The Humen Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
 โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการ
และปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ
ผู้สังเกตุการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ
 รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก
 
        ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ
 ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามของเรา
 
        ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนด
ให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก"
 (World Environment Day)พร้อมทั้งได้จัดตั้ง "โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ"
 หรือเรียกย่อว่า "ยูเนป"(UNEP : United Nation Environment Programe) ขึ้น
 ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นและจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม
ขึ้นในประเทศของตน ซึ่งในปี 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์
 เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans - Dead or Live ?
 "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย"
 
        สำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า
 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
 พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ป ีพ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของ
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม ่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน2535
เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  กรมควบคุมมลพิษ
และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
 
        พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช2535
 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวดล้อมลงสู่ท้องถิ่น
และให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ
การควบคุมมลพิษ
 
        ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหา
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต